วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

การออกโฉนดที่ดิน



                . รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยประกาศเขตเพื่อจะออกโฉนดที่ดินทั้งตำบล (ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58,58 ทวิ)
                . การออกโฉนดที่ดิน เฉพาะราย (ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 59)
ที่ดินมือเปล่า
                      คือ ที่ดินที่ไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดใน 4 อย่างต่อไปนี้ คือไม่มีโฉนดที่ดิน โฉนดแผนที่ โฉนดตราจองและตราจองที่ตราว่าได้ทำประโยชน์แล้ว ที่ดินมือเปล่านั้นอาจจะไม่มีหนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิในที่ดิน แต่อย่างหนึ่งอย่างใดเลย หรือมีหนังสือสำคัญสำหรับที่ดินบางอย่าง เช่น ใบเหยียบย่ำ ตราจองที่เป็นใบอนุญาต ..1 ใบจองหนังสือรับรองการทำประโยชน์หรือใบไต่สวน


..1

  ..1 คือ หนังสือแจ้งการครอบครองที่ดินที่ผู้ครอบครองได้ทำประโยชน์ในที่ดินอยู่ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายที่ดินใช้บังคับไปแจ้งการครอบครองต่อนายอำเภอหรือปลัดอำเภอ ผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ว่าตนครอบครองที่ดินอยู่เป็นจำนวนเท่าใด
นายอำเภอจะออกแบบ ..1 ให้แจ้งเก็บไว้เป็นหลักฐาน ..1 มีลักษณะสำคัญแสดงให้ทราบว่ามีเนื้อที่เท่าใดใครเป็นเจ้าของ ตำแหน่งอยู่ที่ใด ที่ดินได้มาอย่างไร มีหลักฐานแห่งการได้มา และสภาพที่ดินเป็นอย่างไร
                ..1 ที่ผู้แจ้งได้มาไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิที่เคยมีอยู่หรือไม่เคยมีอยู่ของผู้แจ้งต้องเปลี่ยนแปลงไปแต่อย่างใด คือ ไม่ก่อให้เกิดสิทธิขึ้นใหม่แก่ผู้แจ้งแต่ประการใด ไม่ใช่หนังสือรับรองว่าผู้แจ้งเป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครอง ความเป็นเจ้าของผู้แจ้ง ผู้แจ้งต้องพิสูจน์เอาเอง
ใบจอง
  ใบจองเป็นหนังสือที่ทางราชการออกให้เพื่อเป็นการแสดงความยินยอมให้ครอบครองทำประโยชน์ที่ดินเป็นการชั่วคราว ซึ่งใบจองนี้จะออกให้แก่ราษฎรที่ทางราชการได้จัดที่ดินให้ทำกินตามประมวลกฎหมายที่ดิน (ผู้ที่ต้องการจับจองควรคอยฟังข่าวของทางราชการ ซึ่งจะมีประกาศเปิดโอกาสให้จับจองเป็นคราวๆ ในแต่ละท้องที่)
                ผู้มีใบจองจะต้องจัดการทำประโยชน์ในที่ดินที่ราชการจัดให้ ให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี (การทำประโยชน์ให้แล้วเสร็จ หมายถึง 75 เปอร์เซ็นต์ของที่ดินที่จัดให้) และที่ดินที่มีใบจองนี้จะโอนให้แก่คนอื่นไม่ได้ต้องทำประโยชน์ด้วยตนเอง ซึ่งเมื่อทำประโยชน์เสร็จถึง 75% แล้ว ก็มีสิทธิมาขอออกโฉนดที่ดิน หรือ .. 3 ได้เหมือนกับผู้มี ..1 มี 2 กรณี คือ
                1. เมื่อทางราชการเดินสำรวจทั้งตำบลเพื่อออกโฉนดที่ดินหรือ ..3 ให้
                2. มาขอออกเองเหมือนกับผู้มี ..1
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (..3)
                คือ หนังสือคำรับรองจากพนักงานเจ้าหน้าที่ (นายอำเภอ) ว่าผู้ครอบครองที่ดินได้ทำประโยชน์แล้ว มี 2 แบบ คือ แบบ ..3 และ .. 3
                แบบ ..3 ให้ใช้เมื่อมีการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยวิธีกำหนดตำแหน่งทีดินในระวางรูปถ่ายทางอากาศ
                ที่ดินที่มีมี ..3 นี้ถือว่ามีสิทธิครอบครองคือมีสิทธิยึดถือทรัพย์นั้นไว้เพื่อตน เป็นสิทธิที่มีความสำคัญรองลงมาจากกรรมสิทธิ (แต่ทางพฤตินัยก็ถือว่าเป็นเจ้าของเช่นกัน) นอกจากนี้เวลาจะโอนให้คนอื่น ไม่ว่าจะขายหรือยกให้ หรือจำนองก็สามารถทำได้ แต่ต้องไปจดทะเบียน ที่ว่าการอำเภอ ไม่ใช่สำนักงานที่ดิน
                ที่ดิน ..3 นี้ เป็นที่ดินที่เจ้าของมีเพียงสิทธิครอบครอง เจ้าของที่ดินมีสิทธินำ ..3 มาขอออกโฉนดที่ดินเพื่อให้ได้
กรรมสิทธิได้ 2 กรณี คือ
                1. เมื่อทางราชการจะออกโฉนดที่ดินให้โอนการเดินสำรวจทั้งตำบล
                2. มาขอออกเองเป็นเฉพาะราย เหมือนผู้มี ..1 หรือ ..3

ใบไต่สวน (..5)


             เป็นหนังสือแสดงการสอบสวนเพื่อออกโฉนดที่ดิน (กฎกระทรวงฉบับที่ 5) ใบไต่สวนจะออกให้ต่อเมื่อบุคคลมารังวัดโฉนดที่ดินจะเป็นการรังวัดเฉพาะแปลง(ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 59) หรือรังวัดเป็นท้องที่ (ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 58) ก่อนออกโฉนดที่ดินพนักงานเจ้าหน้าที่จะต้องทำการรังวัดตรวจสอบที่ดินเพื่อทำแผนที่ระวาง และสอบสวนสิทธิว่าเป็นที่ดินของใคร มีบิดา มารดาชื่ออะไร มีอายุเท่าไร เนื้อที่ทั้งหมดประมาณเท่าไร มีเขตข้างเคียงแต่ละทิศจดอะไร และมีหลักฐานสำหรับที่ดินอย่างไรบ้าง
ข้อความที่สอบสวนรังวัดมาได้ จะต้องจดไว้ในใบไต่สวนและให้เจ้าของที่ดินลงชื่อรับรอง และเจ้าหน้าที่ผู้ทำการสอบสวนลงชื่อไว้ด้วย
                ใบไต่สวน เป็นพยานเอกสารที่แสดงว่า ผู้มีชื่อในใบไต่สวนนำเจ้าหน้าที่ทำการรังวัดเพื่อออกโฉนดที่ดินแปลงนั้นๆ แล้ว ใบ
ไต่สวนไม่ใช่เอกสารสิทธิ แต่มีประโยชน์สำหรับ ผู้มีชื่อในใบไต่สวนที่ถูกฟ้องคดีหาว่าสละสิทธิครอบครองในที่ดินแปลงนั้น อาจอ้างใบ
ไต่สวนเป็นพยานเอกสารต่อสู้ได้ว่าตนเองยังมีเจตนายึดถือครอบครองอยู่ มิฉะนั้นคงไม่นำเจ้าหน้าที่ทำการรังวัดออกโฉนดที่ดิน และเป็นเอกสารที่ยืนยันว่ามีที่ดินมีเนื้อที่ประมาณเท่าไร แต่ละทิศจดที่ดินข้างเคียงแปลงใด และเป็นหลักฐานที่แสดงว่าเจ้าของได้ครอบครองตามเขตที่แสดงไว้ในใบไต่สวนแล้ว
ที่ดินมือเปล่าแตกต่างกับทีดินมีโฉนด
               1. ที่ดินมีโฉนด เจ้าของมีกรรมสิทธิ กล่าวคือ มีสิทธิใช้สอย, จำหน่าย, ได้ดอกผลและติดตามเอาคืน ซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ ขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
                ที่ดินมือเปล่า เจ้าของมีเพียงสิทธิครอบครองซึ่งเกิดขึ้นจากการยึดถือที่ดินนั้นไว้โดยเจตนายึดถือเพื่อตน
                2. ที่ดินมีโฉนด ถูกครอบครองปรปักษ์ได้กล่าวคือ หากมีบุคคลอื่นเข้ามาครอบครองที่ดินมีโฉนดโดยสงบเปิดเผยและเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกัน10 ปี บุคคลนั้นได้กรรมสิทธิแต่ต้องไปขอให้ศาลสั่งว่าได้มาโดยการครอบครองปรปักษ์และนำคำสั่งศาลไปจดทะเบียนประเภทได้มาโดยการครอบครองต่อเจ้าพนักงานที่ดิน
                ที่ดินมือเปล่า ถูกครอบครองปรปักษ์ไม่ได้ เช่น ที่ดิน ..1 หรือ ..3 มีคนมาครอบครอง 10 ปี หรือ 20 ปี ผู้ครอบครองก็คงมีแต่สิทธิครอบครอง ดังนั้นผู้มาแย่งการครอบครองที่ดินมือเปล่าจากเจ้าของเดิมเกิน 10 ปี จะต่อสู้ว่าตนได้กรรมสิทธิโดยครอบครองปรปักษ์แล้วไม่ได้แต่ต้องต่อสู้ว่าตนได้สิทธิในที่ดินนั้นแล้วเนื่องจากเจ้าของเดิมถูกแย่งการครอบครองแล้วไม่ฟ้องร้องภายใน 1 ปี
ผู้ครอบครองเดิมย่อมสูญสิ้นในที่ดินของตน(ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375)
                3. ที่ดินมีโฉนด พนักงานเจ้าหน้าที่ในการจดทะเบียน คือ เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินสาขา ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ที่ดินมือเปล่า พนักงานเจ้าหน้าที่ในการจดทะเบียนคือนายอำเภอหรือผู้ทำการแทนปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้ากิ่งอำเภอหรือผู้ทำการแทนซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่
                4. ที่ดินมีโฉนด อายุความการทอดทิ้งให้ที่ดินตกเป็นของรัฐ ที่ดินมีโฉนดทอดทิ้งเกิน 10 ปีติดต่อกัน (ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 6)
                ที่ดินมือเปล่า หากเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (..3) ทอดทิ้งเกิน 5 ปี ติดต่อกันที่ดินนั้นตกเป็นของรัฐ สำหรับที่ดินมือเปล่าประเภทอื่น เช่น ..1 ใบจอง หากผู้ครอบครองสละเจตนาครอบครอง หรือไม่ยึดถือทรัพย์สินนั้นต่อไป การครอบครองย่อมสุดสิ้นที่ดินตกเป็นของรัฐทันทีเจ้าของที่ดินมือเปล่าจะสูญสิ้นสิทธิในที่ดินของตนได้โดยประการหนึ่งประการใดดังต่อไปนี้
                1) โดยเจ้าของที่ดินมือเปล่าโอนที่ดินของตนให้ผู้อื่นหากเป็นที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์โอนโดยการจดทะเบียนต่อนายอำเภอท้องที่ซึ่งที่ดินตั้งอยู่ หากเป็นที่ดิน ..1 โอนโดยการส่งมอบการครอบครองซึ่งใช้ยันกันได้ระหว่างเอกชนเท่านั้น จะใช้ยันต่อรัฐไม่ได้ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378-1380)
                2) โดยการสละเจตนาครอบครอง (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1377) เช่นเจ้าของที่ดินมือเปล่า สค.1 ทำหนังสือโอนขายกันเอง เป็นการแสดงเจตนาว่าผู้ขายสละเจตนาครอบครองและไม่ยึดถือที่ดินนั้นต่อไป
                3) โดยไม่ยึดถือทรัพย์สินนั้นต่อไป (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1377) การที่เจ้าของที่ดินมือเปล่าเลิกยึดถือที่ดินเป็นการแสดงเจตนาละทิ้ง เลิกครอบครอง การซื้อขายที่ดินมือเปล่า โดยมิได้ทำสัญญาเป็นหนังสือกันนั้นเมื่อผู้ซื้อได้ชำระราคาและผู้ขายสละสิทธิให้ผู้ซื้อเข้าปกครองอย่างเจ้าของโดยผู้ขายเลิกยึดถือที่ดินนั้นต่อไป ที่ดินย่อมเป็นสิทธิของผู้ซื้อ
                4) โดยถูกแย่งการครอบครองแล้วเจ้าของที่ดินมือเปล่าไม่ฟ้องเรียกร้องคืนภายใน 1 ปี ย่อมสูญสิ้นสิทธิในที่ดินของตน (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1375) การฟ้องเรียกคืนซึ่งการครอบครองจะต้องฟ้องภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง ที่เป็นเช่นนี้เพราะกฎหมายถือว่าที่ดินมือเปล่าเจ้าของไม่มีกรรมสิทธิ มีแต่เพียงสิทธิครอบครองระยะเวลา 1 ปี นับตั้งแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง มิใช่นับตั้งแต่วันที่รู้ว่าถูกแย่งการครอบครอง
                การฟ้องเรียกคืนภายใน 1 ปี เป็นระยะเวลาสิ้นสุด มิใช่อายุความ  ดังนั้นแม้จำเลยไม่ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ ศาลก็หยิบยกขึ้นพิจารณายกฟ้องโจทก์ก็ได้
                5) โดยถูกเวนคืนให้ที่ดินตกเป็นของรัฐ (ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 5)
                6) โดยเจ้าของละทิ้ง (ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 6) เช่น ที่ดิน สค.1 ใบจอง หากเจ้าของสละเจตนาครอบครอง การครอบครองย่อมสิ้นสุด ที่ดินตกเป็นของรัฐ
สำหรับที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์หากทอดทิ้ง 5 ปีติดต่อกัน ที่ดินตกเป็นของรัฐประเภทที่รกร้างว่างเปล่า 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น