วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

มาตรา 30 “ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน
...จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง .. 2542
มาตรา 9 “ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในเรื่องดังต่อไปนี้
(1) คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าเป็นการออกกฎ คำสั่ง หรือการกระทำอันใดเนื่องจากการกระทำโดยไม่มีอำนาจ หรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ หรือไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน หรือวิธีการอันเป็นสาระสำคัญที่กำหนดไว้สำหรับการกระทำนั้น หรือโดยไม่สุจริต หรือมีลักษณะเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม หรือมีลักษณะเป็นการสร้างขั้นตอนโดยไม่จำเป็น.....”
มาตรา 72 “ในการพิพากษาคดี ศาลปกครองมีอำนาจกำหนดคำบังคับอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) สั่งให้เพิกถอนกฎ หรือคำสั่ง หรือสั่งห้ามการกระทำทั้งหมดหรือบางส่วน ในกรณีที่มีการฟ้องว่าหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1)
(2) .............................................................................”
ในกรณีนี้ศาลปกครองจะยกเหตุที่คำสั่งทางปกครองไม่ชอบด้วยกฎหมายในเหตุอื่นหรือข้ออ้างอื่นนอกเหนือจากที่ ผู้ต้องคดีอ้างมาในคำฟ้อง มาเป็นเหตุเพิกถอนคำสั่งทางปกครองไม่ได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น