วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553

นายอำเภอท้องที่ในฐานะผู้ปกครองท้องที่ดูแลรักษาทางสาธารณประโยชน์

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๓๔/๒๕๔๗
ในการขอออกโฉนดที่ดินเฉพาะรายตามหลักฐานlสค1ตามมาตรา ๕๙ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เมื่อปรากฏว่าที่ดินที่ขอออกโฉนดที่ดินมีข้างเคียงจดที่สาธารณประโยชน์ จึงต้องมีการรับรองแนวเขตที่ดินโดยผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษา และเมื่อผู้รับมอบอำนาจจากผู้มีหน้าที่ดูแลรักษาทางสาธารณประโยชน์ได้ให้การรับรองว่า การรังวัดเพื่อออกโฉนดที่ดินมิได้รุกล้ำทางดังกล่าว โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงบ่งชี้ว่ามีการทุจริต หรือกระทำนอกเหนืออำนาจ หรือร่วมกันกระทำการโดยไม่ชอบ ผู้มอบอำนาจจึงต้องผูกพันตามการกระทำของผู้รับมอบอำนาจที่กระทำการในขอบเขตอำนาจนั้น
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า
ในการออกโฉนดที่ดินนายอำเภอท้องที่ในฐานะผู้ปกครองท้องที่ดูแลรักษาทางสาธารณประโยชน์ ได้มอบอำนาจให้ตัวแทนไประวังชี้แนวเขตที่ดินแล้วปรากฏว่า มิได้รุกล้ำ ผลการรังวัดที่ดินได้เนื้อที่มากกว่าหลักฐานเดิมซึ่งนายอำเภอรับรองว่าหลักฐานเดิมถูกต้อง ทั้งเจ้าพนักงานที่ดินได้ประกาศการออกโฉนดที่ดินแล้วไม่มีผู้คัดค้านจึงได้ออกโฉนดที่ดิน การกระทำดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการกระทำตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ตามมาตรา ๕๖ และมาตรา ๕๙ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ประกอบกับข้อ ๘ ข้อ ๙ และข้อ ๑๐ ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๙๗)ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ระเบียบคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ว่าด้วยเงื่อนไขการออกโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ และระเบียบกรมที่ดิน ว่าด้วยการเขียนข้างเคียงและการรับรองแนวเขตที่ดิน

ในการสร้างใบไต่สวนเจ้าหน้าที่(นส5

จึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการสอบสวนสิทธิเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิทธิของผู้ขอออก
โฉนดที่ดินโดย มีกระบวนการและขั้นตอนตามระเบียบของกรมที่ดินโดยสรุป ดังนี้

(๑) การเขียนชื่อผู้นำทำการสำรวจ และการเขียนข้างเคียงให้ถือปฏิบัติระเบียบกรมที่ดิน ว่าด้วยการลงชื่อเจ้าของที่ดินในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน พ.ศ. ๒๕๒๙
และระเบียบกรมที่ดิน ว่าด้วยการเขียนข้างเคียงและการรับรองแนวเขตที่ดิน พ.ศ. ๒๕๒๙

(๒) เมื่อดำเนินการตามข้อ ๒๔ แล้ว ถ้าผู้นำทำการเดินสำรวจมีหลักฐาน
ที่ดินเดิม ให้เจ้าหน้าที่สอบสวนสิทธิหมายเหตุด้วยหมึกสีแดงลงในหลักฐานที่ดินนั้นว่า
“ที่ดินแปลงนี้ได้นำทำการเดินสำรวจแต่วัน เดือน ปีใด” แล้วลงลายมือชื่อพร้อมกับ
วัน เดือน ปี กำกับไว้ และให้เก็บหลักฐานที่ดินนั้นรวมไว้ในเรื่อง

กรณีผู้นำทำการเดินสำรวจไม่อาจส่งหลักฐานที่ดินเดิมได้ ให้เจ้าหน้าที่สอบสวนสิทธิบันทึกถ้อยคำให้ปรากฏถึงสาเหตุที่ไม่อาจส่งหลักฐานที่ดินเดิมไว้ และ
ให้นำภาพถ่ายหลักฐานที่ดินเดิมที่รับรองความถูกต้องแล้วประกอบไว้ในเรื่องแล้ว
ให้เจ้าหน้าที่สอบสวนสิทธิหมายเหตุไว้ในบัญชีส่งงานว่า “ไม่ได้ต้นฉบับมา”

(๓) ที่ดินที่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมผูกพันอยู่ก่อนการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน เช่น จำนองหรือขายฝาก ซึ่งยังไม่สิ้นสิทธิการไถ่ถอน ให้ผู้จำนองหรือ
ผู้รับซื้อฝากเป็นผู้นำทำการเดินสำรวจและให้ผู้ซึ่งเป็นคู่กรณีในข้อผูกพัน เช่น ผู้รับจำนองหรือผู้ขายฝาก มาให้ถ้อยคำรับรองในข้อที่กำหนดไว้ในใบไต่สวน

ถ้ามีการยินยอมเป็นหนังสือให้เก็บหลักฐานการยินยอมนั้นรวมไว้กับ
ใบไต่สวน (น.ส. ๕) ที่ดินแปลงนั้น แล้วหมายเหตุด้วยหมึกสีแดงในข้อที่กำหนดไว้ใน
ใบไต่สวน (น.ส. ๕) ให้ทราบว่าผู้รับจำนองหรือผู้ขายฝากได้ให้คำยินยอมแล้วตามหนังสือหรือบันทึกลงวัน เดือน ปี ไว้ด้วย

(๔) ถ้าที่ดินมีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมผูกพันอยู่ตามข้อ ๒๗
ให้เจ้าหน้าที่สอบสวนสิทธิจดแจ้งรายการจดทะเบียนนั้นลงในสารบัญแก้ทะเบียนหลังใบไต่สวน (น.ส. ๕)

(๕) ที่ดินแปลงใดที่เจ้าหน้าที่เดินสำรวจได้หมายเหตุการโต้แย้งสิทธิไว้
ตามข้อ ๒๒ ให้เจ้าหน้าที่สอบสวนสิทธิบันทึกถ้อยคำของผู้โต้แย้งสิทธิในที่ดินนั้นให้ปรากฏเหตุที่โต้แย้งว่ามีหลักฐานอย่างไร แล้วรีบนำเสนอเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อประกาศแจกโฉนดที่ดิน

เมื่อครบกำหนดประกาศแจกโฉนดที่ดินแล้วให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการสอบสวนเปรียบเทียบ ถ้าตกลงกันได้ก็ให้ดำเนินการไปตามที่ตกลง หากตกลงกันไม่ได้
ให้ส่งเรื่องไปให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาสั่งการไป
ตามที่เห็นสมควรต่อไป

(๖) การส่งผลงานการเดินสำรวจระหว่างเจ้าหน้าที่สอบสวนสิทธิกับ
ศูนย์อำนวยการเดินสำรวจให้ใช้แบบ บ.ท.ด. ๑๖ เป็นบัญชีส่งงาน

(๗) ที่ดินที่เจ้าหน้าที่สอบสวนสิทธิส่งงานและได้ต่อเครื่องหมายที่ดิน
จากศูนย์อำนวยการเดินสำรวจแล้ว ให้เจ้าหน้าที่สอบสวนสิทธิรีบออกใบเสร็จนำทำการ
เดินสำรวจ (ท.ด. ๑๘) ให้ผู้นำทำการเดินสำรวจไว้เป็นหลักฐาน
เจ้าหน้าที่จึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการสอบสวนสิทธิเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิทธิของผู้ขอออกโฉนดที่ดิน โดยมีกระบวนการและขั้นตอนตามระเบียบของกรมที่ดินโดยสรุป ดังนี้

(๑) การเขียนชื่อผู้นำทำการสำรวจ และการเขียนข้างเคียงให้ถือปฏิบัติระเบียบกรมที่ดิน ว่าด้วยการลงชื่อเจ้าของที่ดินในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน พ.ศ. ๒๕๒๙
และระเบียบกรมที่ดิน ว่าด้วยการเขียนข้างเคียงและการรับรองแนวเขตที่ดิน พ.ศ. ๒๕๒๙

(๒) เมื่อดำเนินการตามข้อ ๒๔ แล้ว ถ้าผู้นำทำการเดินสำรวจมีหลักฐาน
ที่ดินเดิม ให้เจ้าหน้าที่สอบสวนสิทธิหมายเหตุด้วยหมึกสีแดงลงในหลักฐานที่ดินนั้นว่า
“ที่ดินแปลงนี้ได้นำทำการเดินสำรวจแต่วัน เดือน ปีใด” แล้วลงลายมือชื่อพร้อมกับ
วัน เดือน ปี กำกับไว้ และให้เก็บหลักฐานที่ดินนั้นรวมไว้ในเรื่อง

กรณีผู้นำทำการเดินสำรวจไม่อาจส่งหลักฐานที่ดินเดิมได้ ให้เจ้าหน้าที่สอบสวนสิทธิบันทึกถ้อยคำให้ปรากฏถึงสาเหตุที่ไม่อาจส่งหลักฐานที่ดินเดิมไว้ และ
ให้นำภาพถ่ายหลักฐานที่ดินเดิมที่รับรองความถูกต้องแล้วประกอบไว้ในเรื่องแล้ว
ให้เจ้าหน้าที่สอบสวนสิทธิหมายเหตุไว้ในบัญชีส่งงานว่า “ไม่ได้ต้นฉบับมา”

(๓) ที่ดินที่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมผูกพันอยู่ก่อนการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน เช่น จำนองหรือขายฝาก ซึ่งยังไม่สิ้นสิทธิการไถ่ถอน ให้ผู้จำนองหรือ
ผู้รับซื้อฝากเป็นผู้นำทำการเดินสำรวจและให้ผู้ซึ่งเป็นคู่กรณีในข้อผูกพัน เช่น ผู้รับจำนองหรือผู้ขายฝาก มาให้ถ้อยคำรับรองในข้อที่กำหนดไว้ในใบไต่สวน

ถ้ามีการยินยอมเป็นหนังสือให้เก็บหลักฐานการยินยอมนั้นรวมไว้กับ
ใบไต่สวน (น.ส. ๕) ที่ดินแปลงนั้น แล้วหมายเหตุด้วยหมึกสีแดงในข้อที่กำหนดไว้ใน
ใบไต่สวน (น.ส. ๕) ให้ทราบว่าผู้รับจำนองหรือผู้ขายฝากได้ให้คำยินยอมแล้วตามหนังสือหรือบันทึกลงวัน เดือน ปี ไว้ด้วย

(๔) ถ้าที่ดินมีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมผูกพันอยู่ตามข้อ ๒๗
ให้เจ้าหน้าที่สอบสวนสิทธิจดแจ้งรายการจดทะเบียนนั้นลงในสารบัญแก้ทะเบียนหลังใบไต่สวน (น.ส. ๕)

(๕) ที่ดินแปลงใดที่เจ้าหน้าที่เดินสำรวจได้หมายเหตุการโต้แย้งสิทธิไว้
ตามข้อ ๒๒ ให้เจ้าหน้าที่สอบสวนสิทธิบันทึกถ้อยคำของผู้โต้แย้งสิทธิในที่ดินนั้นให้ปรากฏเหตุที่โต้แย้งว่ามีหลักฐานอย่างไร แล้วรีบนำเสนอเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อประกาศแจกโฉนดที่ดิน

เมื่อครบกำหนดประกาศแจกโฉนดที่ดินแล้วให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการสอบสวนเปรียบเทียบ ถ้าตกลงกันได้ก็ให้ดำเนินการไปตามที่ตกลง หากตกลงกันไม่ได้
ให้ส่งเรื่องไปให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาสั่งการไป
ตามที่เห็นสมควรต่อไป

(๖) การส่งผลงานการเดินสำรวจระหว่างเจ้าหน้าที่สอบสวนสิทธิกับ
ศูนย์อำนวยการเดินสำรวจให้ใช้แบบ บ.ท.ด. ๑๖ เป็นบัญชีส่งงาน

(๗) ที่ดินที่เจ้าหน้าที่สอบสวนสิทธิส่งงานและได้ต่อเครื่องหมายที่ดิน
จากศูนย์อำนวยการเดินสำรวจแล้ว ให้เจ้าหน้าที่สอบสวนสิทธิรีบออกใบเสร็จนำทำการ
เดินสำรวจ (ท.ด. ๑๘) ให้ผู้นำทำการเดินสำรวจไว้เป็นหลักฐาน

วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การสอบเขตที่ดิน

         การสอบเขต หมายถึง การรังวัดตรวจสอบแนวเขตโฉนดที่ดินหรือการรังวัดตรวจสอบเนื้อที่ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เพื่อให้ทราบที่ตั้งแนวเขตที่ดินและจำนวนเนื้อที่ของที่ดินตามที่ได้ครอบครองอยู่จริงการสอบเขตที่ดินการรังวัดสอบเขตที่ดินซึ่งมีชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันหลายคน ผู้ถือกรรมสิทธิ์คนหนึ่งคนใดนำทำการสอบเขตโฉนดที่ดิน โดยไม่ต้องมีหนังสือมอบฉันทะของคนอื่นไปก่อนได้ แต่ถ้าปรากฏว่าจำนวนเนื้อที่ดินหรือเขตที่ดินที่ทำการสอบเขตใหม่คลาดเคลื่อนไปจากเดิม จึงให้จัดการติดต่อให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมทุกคน ได้มีการยินยอมรับรองไว้เป็นหลักฐานด้วย (คำสั่งที่ /๒๕๐๔ ลงวันที่  มกราคม ๒๕๐๔)


     การรังวัดสอบเขตหรือแบ่งแยกที่สภาพที่ดินมีทางสาธารณประโยชน์ผ่าน กรมที่ดินได้วางแนวทางปฏิบัติ ตามหนังสือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๗๑๐/ ๙๗  ลงวันที่    มกราคม  ๒๕๓๔  ดังนี้ 
             ให้แนะนำเจ้าของที่ดินผู้ขอรังวัดนำรังวัดแบ่งแยกหรือกันเขตทางสาธารณประโยชน์ออก โดยการแบ่งหักเป็นทางสาธารณประโยชน์ 
             หากผู้ขอรังวัดไม่ยอมแบ่งหักเป็นทางสาธารณประโยชน์ โดยอ้างว่าไม่ใช่ทางสาธารณประโยชน์ให้บันทึกถ้อยคำของผู้ขอและให้งดทำการรังวัดไว้ก่อน แล้วทำหนังสือสอบถามไปยังผู้ดูแลรักษาว่าทางในที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นทางสาธารณประโยชน์หรือไม่  ถ้าได้รับการยืนยันว่าเป็นทางสาธารณประโยชน์ ให้แจ้งผู้ขอทราบเพื่อนำทำการรังวัดแบ่งหักเป็นทางสาธารณประโยชน์ แต่ถ้าผู้ขอรังวัดไม่ยอมนำรังวัดแบ่งหักเป็นทางสาธารณประโยชน์ ก็ให้บันทึกถ้อยคำไว้แล้วงดการดำเนินการ 
          -  เกี่ยวกับการบังคับให้เจ้าของที่ดินต้องอุทิศที่ดินให้เป็นการขยายทางสาธารณประโยชน์เพิ่มเติม  กระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือสั่งการไว้ตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ ๖๙๐๒/๒๕๐๐  ลงวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๐๐  และหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท ๐๖๑๘/ ๑๒๓๘ ลงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๓๕ ไว้ดังนี้ 
    
    ก่อนที่จะดำเนินการกันเขตที่ดินสาธารณประโยชน์เจ้าหน้าที่จะต้องศึกษาสภาพที่ดินเสียก่อน ถ้าปรากฏว่ามีที่สาธารณประโยชน์อยู่ควรจะต้องมีหลักฐานและเหตุผลโดยถ่องแท้ว่าเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์เพราะเหตุใด และถ้าเชื่อได้ก็ควรจะยืนยันไปตามนั้น ไม่ใช่ว่าจะกันออกหรือไม่กันออกก็ได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้รับมอบหมายไประวังแนวเขตเห็นควรกันเขตที่ดินสาธารณะให้กว้างออกไปจากเดิมโดยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของเจ้าของที่ดินหรือเห็นสมควรขอกันที่ดินเป็นทางสาธารณะเพื่อความเจริญของท้องถิ่น ซึ่งแม้จะเป็นเจตนาอันบริสุทธิ์ก็ตามก็ไม่ควรกระทำไปในทำนองให้เจ้าของที่ดินให้ความยินยอมในขณะนั้น เจ้าหน้าที่ควรเสนอเรื่องให้ผู้มีอำนาจในการดูแลรักษาที่ดินสาธารณประโยชน์พิจารณาว่าสมควรจะดำเนินการอย่างใด ถ้าเห็นสมควรขอร้องให้เจ้าของที่ดินอุทิศที่ดินให้เป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ก็ชอบที่จะเจรจาขอร้องให้เจ้าของที่ดินอุทิศให้โดยความสมัครใจ ถ้าไม่เป็นที่ตกลงกันก็จะถือเป็นเหตุไม่รับรองเขตที่ดินตามที่เจ้าของที่ดินขอรังวัดออกโฉนดหรือขอรังวัดแบ่งแยกหาได้ไม่ 
   

ข้อหารือจังหวัดสมุทรสงคราม ที่ มท ๐๖๐๙/๒๐๕๒๔



         การรังวัดสอบเขตที่ดินผลปรากฏว่า การครอบครองไม่ตรงกับแผนที่หลังโฉนดที่ดินเดิม คำนวณเนื้อที่ใหม่ได้น้อยกว่าเดิม ผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงรับรองแนวเขตครบ การสอบสวนไม่ปรากฏว่ามีการสมยอมเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมาย เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจที่จะสั่งแก้ไขรูปแผนที่และเนื้อที่ในโฉนดที่ดินให้ตรงกับความเป็นจริงได้ ตามมาตรา ๖๙ ทวิ วรรค  แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ถ้าผู้ขอไม่มีความประสงค์จะดำเนินเรื่องต่อไปก็ย่อมเป็นสิทธิของผู้ขอที่จะขอเลิกเรื่องได้ แต่ขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้เจ้าของที่ดินทราบถึงผลการรังวัดสอบเขตที่ดินดังกล่าวโดยชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง หากยินยอมให้แก้ไขรูปแผนที่และเนื้อที่ได้ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการต่อไป แต่ถ้าไม่ยินยอมก็ให้บันทึกถ้อยคำไว้เป็นหลักฐานพร้อมกับกลัดคำสั่งให้สอบเขตที่ดิน (..๘๐ว่า ”ที่ดินแปลงนี้ได้มีการรังวัดสอบเขตที่ดิน ปรากฏว่าการครอบครองไม่ตรงกับแผนที่หลังโฉนดที่ดินเดิม คำนวณเนื้อที่ใหม่ได้น้อยกว่าเดิม ……….ตารางวา ให้ทำการสอบเขตโฉนดที่ดินเสียก่อน ถ้าคู่กรณียืนยันให้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ก็ให้บันทึกถ้อยคำเป็นหลักฐานไว้แล้วดำเนินการต่อไปได้” ติดไว้ในโฉนดที่ดินเสียก่อน แล้วจึงให้เลิกเรื่องไปได้ ในกรณีที่มีการขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับโฉนดที่ดินแปลงนี้ ถ้าคู่กรณียืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรให้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกถ้อยคำของคู่กรณีทุกฝ่ายเพื่อให้ทราบถึงผลการรังวัดสอบเขตที่ดินครั้งก่อนว่า การครอบครองไม่ตรงกับรูปแผนที่และเนื้อที่ในโฉนดที่ดินเดิม ไว้เป็นหลักฐานด้วยทุกครั้งจนกว่าจะได้มีการสอบเขตแก้ไขรูปแผนที่และเนื้อที่ในโฉนดที่ดินให้ถูกต้อง (ตอบข้อหารือจังหวัดสมุทรสงคราม ที่ มท ๐๖๐๙/๒๐๕๒๔ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๒๓ เวียนโดยหนังสือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๖๐๙/.๒๒๓๖๗ ลงวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๒๓








วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๓๔/๒๕๔๗

ในการขอออกโฉนดที่ดินเฉพาะรายตามหลักฐานlสค1ตามมาตรา ๕๙ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เมื่อปรากฏว่าที่ดินที่ขอออกโฉนดที่ดินมีข้างเคียงจดที่สาธารณประโยชน์ จึงต้องมีการรับรองแนวเขตที่ดินโดยผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษา และเมื่อผู้รับมอบอำนาจจากผู้มีหน้าที่ดูแลรักษาทางสาธารณประโยชน์ได้ให้การรับรองว่า การรังวัดเพื่อออกโฉนดที่ดินมิได้รุกล้ำทางดังกล่าว โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงบ่งชี้ว่ามีการทุจริต หรือกระทำนอกเหนืออำนาจ หรือร่วมกันกระทำการโดยไม่ชอบ ผู้มอบอำนาจจึงต้องผูกพันตามการกระทำของผู้รับมอบอำนาจที่กระทำการในขอบเขตอำนาจนั้น
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในการออกโฉนดที่ดินนายอำเภอท้องที่ในฐานะผู้ปกครองท้องที่ดูแลรักษาทางสาธารณประโยชน์ ได้มอบอำนาจให้ตัวแทนไประวังชี้แนวเขตที่ดินแล้วปรากฏว่า มิได้รุกล้ำ ผลการรังวัดที่ดินได้เนื้อที่มากกว่าหลักฐานเดิมซึ่งนายอำเภอรับรองว่าหลักฐานเดิมถูกต้อง ทั้งเจ้าพนักงานที่ดินได้ประกาศการออกโฉนดที่ดินแล้วไม่มีผู้คัดค้านจึงได้ออกโฉนดที่ดิน การกระทำดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการกระทำตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ตามมาตรา ๕๖ และมาตรา ๕๙ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ประกอบกับข้อ ๘ ข้อ ๙ และข้อ ๑๐ ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๙๗)ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ระเบียบคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ว่าด้วยเงื่อนไขการออกโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ และระเบียบกรมที่ดิน ว่าด้วยการเขียนข้างเคียงและการรับรองแนวเขตที่ดิน