วันอาทิตย์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553

นายอำเภอท้องที่ในฐานะผู้ปกครองท้องที่ดูแลรักษาทางสาธารณประโยชน์

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๓๔/๒๕๔๗
ในการขอออกโฉนดที่ดินเฉพาะรายตามหลักฐานlสค1ตามมาตรา ๕๙ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เมื่อปรากฏว่าที่ดินที่ขอออกโฉนดที่ดินมีข้างเคียงจดที่สาธารณประโยชน์ จึงต้องมีการรับรองแนวเขตที่ดินโดยผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษา และเมื่อผู้รับมอบอำนาจจากผู้มีหน้าที่ดูแลรักษาทางสาธารณประโยชน์ได้ให้การรับรองว่า การรังวัดเพื่อออกโฉนดที่ดินมิได้รุกล้ำทางดังกล่าว โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงบ่งชี้ว่ามีการทุจริต หรือกระทำนอกเหนืออำนาจ หรือร่วมกันกระทำการโดยไม่ชอบ ผู้มอบอำนาจจึงต้องผูกพันตามการกระทำของผู้รับมอบอำนาจที่กระทำการในขอบเขตอำนาจนั้น
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า
ในการออกโฉนดที่ดินนายอำเภอท้องที่ในฐานะผู้ปกครองท้องที่ดูแลรักษาทางสาธารณประโยชน์ ได้มอบอำนาจให้ตัวแทนไประวังชี้แนวเขตที่ดินแล้วปรากฏว่า มิได้รุกล้ำ ผลการรังวัดที่ดินได้เนื้อที่มากกว่าหลักฐานเดิมซึ่งนายอำเภอรับรองว่าหลักฐานเดิมถูกต้อง ทั้งเจ้าพนักงานที่ดินได้ประกาศการออกโฉนดที่ดินแล้วไม่มีผู้คัดค้านจึงได้ออกโฉนดที่ดิน การกระทำดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการกระทำตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ตามมาตรา ๕๖ และมาตรา ๕๙ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ประกอบกับข้อ ๘ ข้อ ๙ และข้อ ๑๐ ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๙๗)ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ระเบียบคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ว่าด้วยเงื่อนไขการออกโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ และระเบียบกรมที่ดิน ว่าด้วยการเขียนข้างเคียงและการรับรองแนวเขตที่ดิน

ในการสร้างใบไต่สวนเจ้าหน้าที่(นส5

จึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการสอบสวนสิทธิเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิทธิของผู้ขอออก
โฉนดที่ดินโดย มีกระบวนการและขั้นตอนตามระเบียบของกรมที่ดินโดยสรุป ดังนี้

(๑) การเขียนชื่อผู้นำทำการสำรวจ และการเขียนข้างเคียงให้ถือปฏิบัติระเบียบกรมที่ดิน ว่าด้วยการลงชื่อเจ้าของที่ดินในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน พ.ศ. ๒๕๒๙
และระเบียบกรมที่ดิน ว่าด้วยการเขียนข้างเคียงและการรับรองแนวเขตที่ดิน พ.ศ. ๒๕๒๙

(๒) เมื่อดำเนินการตามข้อ ๒๔ แล้ว ถ้าผู้นำทำการเดินสำรวจมีหลักฐาน
ที่ดินเดิม ให้เจ้าหน้าที่สอบสวนสิทธิหมายเหตุด้วยหมึกสีแดงลงในหลักฐานที่ดินนั้นว่า
“ที่ดินแปลงนี้ได้นำทำการเดินสำรวจแต่วัน เดือน ปีใด” แล้วลงลายมือชื่อพร้อมกับ
วัน เดือน ปี กำกับไว้ และให้เก็บหลักฐานที่ดินนั้นรวมไว้ในเรื่อง

กรณีผู้นำทำการเดินสำรวจไม่อาจส่งหลักฐานที่ดินเดิมได้ ให้เจ้าหน้าที่สอบสวนสิทธิบันทึกถ้อยคำให้ปรากฏถึงสาเหตุที่ไม่อาจส่งหลักฐานที่ดินเดิมไว้ และ
ให้นำภาพถ่ายหลักฐานที่ดินเดิมที่รับรองความถูกต้องแล้วประกอบไว้ในเรื่องแล้ว
ให้เจ้าหน้าที่สอบสวนสิทธิหมายเหตุไว้ในบัญชีส่งงานว่า “ไม่ได้ต้นฉบับมา”

(๓) ที่ดินที่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมผูกพันอยู่ก่อนการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน เช่น จำนองหรือขายฝาก ซึ่งยังไม่สิ้นสิทธิการไถ่ถอน ให้ผู้จำนองหรือ
ผู้รับซื้อฝากเป็นผู้นำทำการเดินสำรวจและให้ผู้ซึ่งเป็นคู่กรณีในข้อผูกพัน เช่น ผู้รับจำนองหรือผู้ขายฝาก มาให้ถ้อยคำรับรองในข้อที่กำหนดไว้ในใบไต่สวน

ถ้ามีการยินยอมเป็นหนังสือให้เก็บหลักฐานการยินยอมนั้นรวมไว้กับ
ใบไต่สวน (น.ส. ๕) ที่ดินแปลงนั้น แล้วหมายเหตุด้วยหมึกสีแดงในข้อที่กำหนดไว้ใน
ใบไต่สวน (น.ส. ๕) ให้ทราบว่าผู้รับจำนองหรือผู้ขายฝากได้ให้คำยินยอมแล้วตามหนังสือหรือบันทึกลงวัน เดือน ปี ไว้ด้วย

(๔) ถ้าที่ดินมีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมผูกพันอยู่ตามข้อ ๒๗
ให้เจ้าหน้าที่สอบสวนสิทธิจดแจ้งรายการจดทะเบียนนั้นลงในสารบัญแก้ทะเบียนหลังใบไต่สวน (น.ส. ๕)

(๕) ที่ดินแปลงใดที่เจ้าหน้าที่เดินสำรวจได้หมายเหตุการโต้แย้งสิทธิไว้
ตามข้อ ๒๒ ให้เจ้าหน้าที่สอบสวนสิทธิบันทึกถ้อยคำของผู้โต้แย้งสิทธิในที่ดินนั้นให้ปรากฏเหตุที่โต้แย้งว่ามีหลักฐานอย่างไร แล้วรีบนำเสนอเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อประกาศแจกโฉนดที่ดิน

เมื่อครบกำหนดประกาศแจกโฉนดที่ดินแล้วให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการสอบสวนเปรียบเทียบ ถ้าตกลงกันได้ก็ให้ดำเนินการไปตามที่ตกลง หากตกลงกันไม่ได้
ให้ส่งเรื่องไปให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาสั่งการไป
ตามที่เห็นสมควรต่อไป

(๖) การส่งผลงานการเดินสำรวจระหว่างเจ้าหน้าที่สอบสวนสิทธิกับ
ศูนย์อำนวยการเดินสำรวจให้ใช้แบบ บ.ท.ด. ๑๖ เป็นบัญชีส่งงาน

(๗) ที่ดินที่เจ้าหน้าที่สอบสวนสิทธิส่งงานและได้ต่อเครื่องหมายที่ดิน
จากศูนย์อำนวยการเดินสำรวจแล้ว ให้เจ้าหน้าที่สอบสวนสิทธิรีบออกใบเสร็จนำทำการ
เดินสำรวจ (ท.ด. ๑๘) ให้ผู้นำทำการเดินสำรวจไว้เป็นหลักฐาน
เจ้าหน้าที่จึงมีหน้าที่ต้องดำเนินการสอบสวนสิทธิเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสิทธิของผู้ขอออกโฉนดที่ดิน โดยมีกระบวนการและขั้นตอนตามระเบียบของกรมที่ดินโดยสรุป ดังนี้

(๑) การเขียนชื่อผู้นำทำการสำรวจ และการเขียนข้างเคียงให้ถือปฏิบัติระเบียบกรมที่ดิน ว่าด้วยการลงชื่อเจ้าของที่ดินในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน พ.ศ. ๒๕๒๙
และระเบียบกรมที่ดิน ว่าด้วยการเขียนข้างเคียงและการรับรองแนวเขตที่ดิน พ.ศ. ๒๕๒๙

(๒) เมื่อดำเนินการตามข้อ ๒๔ แล้ว ถ้าผู้นำทำการเดินสำรวจมีหลักฐาน
ที่ดินเดิม ให้เจ้าหน้าที่สอบสวนสิทธิหมายเหตุด้วยหมึกสีแดงลงในหลักฐานที่ดินนั้นว่า
“ที่ดินแปลงนี้ได้นำทำการเดินสำรวจแต่วัน เดือน ปีใด” แล้วลงลายมือชื่อพร้อมกับ
วัน เดือน ปี กำกับไว้ และให้เก็บหลักฐานที่ดินนั้นรวมไว้ในเรื่อง

กรณีผู้นำทำการเดินสำรวจไม่อาจส่งหลักฐานที่ดินเดิมได้ ให้เจ้าหน้าที่สอบสวนสิทธิบันทึกถ้อยคำให้ปรากฏถึงสาเหตุที่ไม่อาจส่งหลักฐานที่ดินเดิมไว้ และ
ให้นำภาพถ่ายหลักฐานที่ดินเดิมที่รับรองความถูกต้องแล้วประกอบไว้ในเรื่องแล้ว
ให้เจ้าหน้าที่สอบสวนสิทธิหมายเหตุไว้ในบัญชีส่งงานว่า “ไม่ได้ต้นฉบับมา”

(๓) ที่ดินที่มีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมผูกพันอยู่ก่อนการเดินสำรวจออกโฉนดที่ดิน เช่น จำนองหรือขายฝาก ซึ่งยังไม่สิ้นสิทธิการไถ่ถอน ให้ผู้จำนองหรือ
ผู้รับซื้อฝากเป็นผู้นำทำการเดินสำรวจและให้ผู้ซึ่งเป็นคู่กรณีในข้อผูกพัน เช่น ผู้รับจำนองหรือผู้ขายฝาก มาให้ถ้อยคำรับรองในข้อที่กำหนดไว้ในใบไต่สวน

ถ้ามีการยินยอมเป็นหนังสือให้เก็บหลักฐานการยินยอมนั้นรวมไว้กับ
ใบไต่สวน (น.ส. ๕) ที่ดินแปลงนั้น แล้วหมายเหตุด้วยหมึกสีแดงในข้อที่กำหนดไว้ใน
ใบไต่สวน (น.ส. ๕) ให้ทราบว่าผู้รับจำนองหรือผู้ขายฝากได้ให้คำยินยอมแล้วตามหนังสือหรือบันทึกลงวัน เดือน ปี ไว้ด้วย

(๔) ถ้าที่ดินมีการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมผูกพันอยู่ตามข้อ ๒๗
ให้เจ้าหน้าที่สอบสวนสิทธิจดแจ้งรายการจดทะเบียนนั้นลงในสารบัญแก้ทะเบียนหลังใบไต่สวน (น.ส. ๕)

(๕) ที่ดินแปลงใดที่เจ้าหน้าที่เดินสำรวจได้หมายเหตุการโต้แย้งสิทธิไว้
ตามข้อ ๒๒ ให้เจ้าหน้าที่สอบสวนสิทธิบันทึกถ้อยคำของผู้โต้แย้งสิทธิในที่ดินนั้นให้ปรากฏเหตุที่โต้แย้งว่ามีหลักฐานอย่างไร แล้วรีบนำเสนอเจ้าพนักงานที่ดินเพื่อประกาศแจกโฉนดที่ดิน

เมื่อครบกำหนดประกาศแจกโฉนดที่ดินแล้วให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทำการสอบสวนเปรียบเทียบ ถ้าตกลงกันได้ก็ให้ดำเนินการไปตามที่ตกลง หากตกลงกันไม่ได้
ให้ส่งเรื่องไปให้เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดหรือเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสาขาสั่งการไป
ตามที่เห็นสมควรต่อไป

(๖) การส่งผลงานการเดินสำรวจระหว่างเจ้าหน้าที่สอบสวนสิทธิกับ
ศูนย์อำนวยการเดินสำรวจให้ใช้แบบ บ.ท.ด. ๑๖ เป็นบัญชีส่งงาน

(๗) ที่ดินที่เจ้าหน้าที่สอบสวนสิทธิส่งงานและได้ต่อเครื่องหมายที่ดิน
จากศูนย์อำนวยการเดินสำรวจแล้ว ให้เจ้าหน้าที่สอบสวนสิทธิรีบออกใบเสร็จนำทำการ
เดินสำรวจ (ท.ด. ๑๘) ให้ผู้นำทำการเดินสำรวจไว้เป็นหลักฐาน

วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การสอบเขตที่ดิน

         การสอบเขต หมายถึง การรังวัดตรวจสอบแนวเขตโฉนดที่ดินหรือการรังวัดตรวจสอบเนื้อที่ตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ เพื่อให้ทราบที่ตั้งแนวเขตที่ดินและจำนวนเนื้อที่ของที่ดินตามที่ได้ครอบครองอยู่จริงการสอบเขตที่ดินการรังวัดสอบเขตที่ดินซึ่งมีชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันหลายคน ผู้ถือกรรมสิทธิ์คนหนึ่งคนใดนำทำการสอบเขตโฉนดที่ดิน โดยไม่ต้องมีหนังสือมอบฉันทะของคนอื่นไปก่อนได้ แต่ถ้าปรากฏว่าจำนวนเนื้อที่ดินหรือเขตที่ดินที่ทำการสอบเขตใหม่คลาดเคลื่อนไปจากเดิม จึงให้จัดการติดต่อให้ผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมทุกคน ได้มีการยินยอมรับรองไว้เป็นหลักฐานด้วย (คำสั่งที่ /๒๕๐๔ ลงวันที่  มกราคม ๒๕๐๔)


     การรังวัดสอบเขตหรือแบ่งแยกที่สภาพที่ดินมีทางสาธารณประโยชน์ผ่าน กรมที่ดินได้วางแนวทางปฏิบัติ ตามหนังสือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๗๑๐/ ๙๗  ลงวันที่    มกราคม  ๒๕๓๔  ดังนี้ 
             ให้แนะนำเจ้าของที่ดินผู้ขอรังวัดนำรังวัดแบ่งแยกหรือกันเขตทางสาธารณประโยชน์ออก โดยการแบ่งหักเป็นทางสาธารณประโยชน์ 
             หากผู้ขอรังวัดไม่ยอมแบ่งหักเป็นทางสาธารณประโยชน์ โดยอ้างว่าไม่ใช่ทางสาธารณประโยชน์ให้บันทึกถ้อยคำของผู้ขอและให้งดทำการรังวัดไว้ก่อน แล้วทำหนังสือสอบถามไปยังผู้ดูแลรักษาว่าทางในที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นทางสาธารณประโยชน์หรือไม่  ถ้าได้รับการยืนยันว่าเป็นทางสาธารณประโยชน์ ให้แจ้งผู้ขอทราบเพื่อนำทำการรังวัดแบ่งหักเป็นทางสาธารณประโยชน์ แต่ถ้าผู้ขอรังวัดไม่ยอมนำรังวัดแบ่งหักเป็นทางสาธารณประโยชน์ ก็ให้บันทึกถ้อยคำไว้แล้วงดการดำเนินการ 
          -  เกี่ยวกับการบังคับให้เจ้าของที่ดินต้องอุทิศที่ดินให้เป็นการขยายทางสาธารณประโยชน์เพิ่มเติม  กระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือสั่งการไว้ตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ ๖๙๐๒/๒๕๐๐  ลงวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๐๐  และหนังสือกระทรวงมหาดไทย ที่ มท ๐๖๑๘/ ๑๒๓๘ ลงวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๓๕ ไว้ดังนี้ 
    
    ก่อนที่จะดำเนินการกันเขตที่ดินสาธารณประโยชน์เจ้าหน้าที่จะต้องศึกษาสภาพที่ดินเสียก่อน ถ้าปรากฏว่ามีที่สาธารณประโยชน์อยู่ควรจะต้องมีหลักฐานและเหตุผลโดยถ่องแท้ว่าเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์เพราะเหตุใด และถ้าเชื่อได้ก็ควรจะยืนยันไปตามนั้น ไม่ใช่ว่าจะกันออกหรือไม่กันออกก็ได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่ผู้รับมอบหมายไประวังแนวเขตเห็นควรกันเขตที่ดินสาธารณะให้กว้างออกไปจากเดิมโดยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของเจ้าของที่ดินหรือเห็นสมควรขอกันที่ดินเป็นทางสาธารณะเพื่อความเจริญของท้องถิ่น ซึ่งแม้จะเป็นเจตนาอันบริสุทธิ์ก็ตามก็ไม่ควรกระทำไปในทำนองให้เจ้าของที่ดินให้ความยินยอมในขณะนั้น เจ้าหน้าที่ควรเสนอเรื่องให้ผู้มีอำนาจในการดูแลรักษาที่ดินสาธารณประโยชน์พิจารณาว่าสมควรจะดำเนินการอย่างใด ถ้าเห็นสมควรขอร้องให้เจ้าของที่ดินอุทิศที่ดินให้เป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ก็ชอบที่จะเจรจาขอร้องให้เจ้าของที่ดินอุทิศให้โดยความสมัครใจ ถ้าไม่เป็นที่ตกลงกันก็จะถือเป็นเหตุไม่รับรองเขตที่ดินตามที่เจ้าของที่ดินขอรังวัดออกโฉนดหรือขอรังวัดแบ่งแยกหาได้ไม่ 
   

ข้อหารือจังหวัดสมุทรสงคราม ที่ มท ๐๖๐๙/๒๐๕๒๔



         การรังวัดสอบเขตที่ดินผลปรากฏว่า การครอบครองไม่ตรงกับแผนที่หลังโฉนดที่ดินเดิม คำนวณเนื้อที่ใหม่ได้น้อยกว่าเดิม ผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงรับรองแนวเขตครบ การสอบสวนไม่ปรากฏว่ามีการสมยอมเพื่อหลีกเลี่ยงกฎหมาย เจ้าพนักงานที่ดินมีอำนาจที่จะสั่งแก้ไขรูปแผนที่และเนื้อที่ในโฉนดที่ดินให้ตรงกับความเป็นจริงได้ ตามมาตรา ๖๙ ทวิ วรรค  แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ถ้าผู้ขอไม่มีความประสงค์จะดำเนินเรื่องต่อไปก็ย่อมเป็นสิทธิของผู้ขอที่จะขอเลิกเรื่องได้ แต่ขอให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้เจ้าของที่ดินทราบถึงผลการรังวัดสอบเขตที่ดินดังกล่าวโดยชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง หากยินยอมให้แก้ไขรูปแผนที่และเนื้อที่ได้ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการต่อไป แต่ถ้าไม่ยินยอมก็ให้บันทึกถ้อยคำไว้เป็นหลักฐานพร้อมกับกลัดคำสั่งให้สอบเขตที่ดิน (..๘๐ว่า ”ที่ดินแปลงนี้ได้มีการรังวัดสอบเขตที่ดิน ปรากฏว่าการครอบครองไม่ตรงกับแผนที่หลังโฉนดที่ดินเดิม คำนวณเนื้อที่ใหม่ได้น้อยกว่าเดิม ……….ตารางวา ให้ทำการสอบเขตโฉนดที่ดินเสียก่อน ถ้าคู่กรณียืนยันให้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ก็ให้บันทึกถ้อยคำเป็นหลักฐานไว้แล้วดำเนินการต่อไปได้” ติดไว้ในโฉนดที่ดินเสียก่อน แล้วจึงให้เลิกเรื่องไปได้ ในกรณีที่มีการขอจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมเกี่ยวกับโฉนดที่ดินแปลงนี้ ถ้าคู่กรณียืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรให้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ก็ให้พนักงานเจ้าหน้าที่บันทึกถ้อยคำของคู่กรณีทุกฝ่ายเพื่อให้ทราบถึงผลการรังวัดสอบเขตที่ดินครั้งก่อนว่า การครอบครองไม่ตรงกับรูปแผนที่และเนื้อที่ในโฉนดที่ดินเดิม ไว้เป็นหลักฐานด้วยทุกครั้งจนกว่าจะได้มีการสอบเขตแก้ไขรูปแผนที่และเนื้อที่ในโฉนดที่ดินให้ถูกต้อง (ตอบข้อหารือจังหวัดสมุทรสงคราม ที่ มท ๐๖๐๙/๒๐๕๒๔ ลงวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๒๓ เวียนโดยหนังสือกรมที่ดิน ที่ มท ๐๖๐๙/.๒๒๓๖๗ ลงวันที่ ๒๗ ตุลาคม ๒๕๒๓








วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553

คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.๓๔/๒๕๔๗

ในการขอออกโฉนดที่ดินเฉพาะรายตามหลักฐานlสค1ตามมาตรา ๕๙ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เมื่อปรากฏว่าที่ดินที่ขอออกโฉนดที่ดินมีข้างเคียงจดที่สาธารณประโยชน์ จึงต้องมีการรับรองแนวเขตที่ดินโดยผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษา และเมื่อผู้รับมอบอำนาจจากผู้มีหน้าที่ดูแลรักษาทางสาธารณประโยชน์ได้ให้การรับรองว่า การรังวัดเพื่อออกโฉนดที่ดินมิได้รุกล้ำทางดังกล่าว โดยไม่ปรากฏข้อเท็จจริงบ่งชี้ว่ามีการทุจริต หรือกระทำนอกเหนืออำนาจ หรือร่วมกันกระทำการโดยไม่ชอบ ผู้มอบอำนาจจึงต้องผูกพันตามการกระทำของผู้รับมอบอำนาจที่กระทำการในขอบเขตอำนาจนั้น
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในการออกโฉนดที่ดินนายอำเภอท้องที่ในฐานะผู้ปกครองท้องที่ดูแลรักษาทางสาธารณประโยชน์ ได้มอบอำนาจให้ตัวแทนไประวังชี้แนวเขตที่ดินแล้วปรากฏว่า มิได้รุกล้ำ ผลการรังวัดที่ดินได้เนื้อที่มากกว่าหลักฐานเดิมซึ่งนายอำเภอรับรองว่าหลักฐานเดิมถูกต้อง ทั้งเจ้าพนักงานที่ดินได้ประกาศการออกโฉนดที่ดินแล้วไม่มีผู้คัดค้านจึงได้ออกโฉนดที่ดิน การกระทำดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นการกระทำตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ตามมาตรา ๕๖ และมาตรา ๕๙ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ประกอบกับข้อ ๘ ข้อ ๙ และข้อ ๑๐ ของกฎกระทรวง ฉบับที่ ๕ (พ.ศ. ๒๔๙๗)ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. ๒๔๙๗ ระเบียบคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๓๒) ว่าด้วยเงื่อนไขการออกโฉนดที่ดินและหนังสือรับรองการทำประโยชน์ และระเบียบกรมที่ดิน ว่าด้วยการเขียนข้างเคียงและการรับรองแนวเขตที่ดิน

วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553

กฏกระทรวงฉบับที่ ๔๓ (พ.ศ. ๒๕๓๗)

กฏกระทรวงฉบับที่ ๔๓ (.๒๕๓๗)
ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน .๒๔๙๗
หมวด 
หนังสือรับรองการทำประโยชน์

ข้อ ๑๑. เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้พิจารณาผลการตรวจพิสูจน์ที่ดินของคณะกรรมการตามข้อ ๑๐ (แล้ว ปรากฏว่าที่ดินนั้นไม่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติเขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหรือเขตที่ได้จำแนกให้เป็นเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี หรือปรากฏว่าที่ดินนั้นอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่า หรือเขตที่ได้จำแนกให้เป็นเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี แต่ผู้ขอได้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมายมาก่อนวันที่ทางราชการกำหนดให้ที่ดินนั้นเป็นป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหรือเขตที่ได้จำแนกให้เป็นเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี และไม่มีผู้คัดค้านภายในกำหนดเวลาที่ประกาศตามข้อ๑๐ (2)
ข้อ ๑๐เมื่อได้พิสูจน์สอบสวนการทำประโยชน์แล้ว ปรากฏว่าได้มีการครอบครองและทำประโยชน์ตามสมควรแก่สภาพที่ดินในท้องถิ่น ตลอดจนสภาพของกิจการที่ได้ทำประโยชน์ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการดังนี้
(ประกาศการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ทราบมีกำหนดสามสิบวัน ประกาศนั้นให้ปิดไว้ในที่เปิดเผย  สำนักงานที่ดินท้องที่สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอหรือที่ว่าการกิ่งอำเภอท้องที่ ที่ทำการแขวงหรือที่ทำการกำนันท้องที่ และในบริเวณที่ดินนั้น แห่งละหนึ่งฉบับ ในเขตเทศบาลให้ปิดไว้  สำนักงานเทศบาลอีกหนึ่งฉบับ
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งการให้พนักงานเจ้าหน้าที่พิจารณาดำเนินการตามข้อ ๑๐ (๒)
ข้อ ๑๐. เมื่อได้พิสูจน์สอบสวนการทำประโยชน์แล้ว ปรากฏว่าได้มีการครอบครองและทำประโยชน์ตามสมควรแก่สภาพที่ดินในท้องถิ่น ตลอดจนสภาพของกิจการที่ได้ทำประโยชน์ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการดังนี้(ถ้าปรากฏว่าที่ดินนั้นไม่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหรือเขตที่ได้จำแนกให้เป็นเขตป่าไม้ถาวรตามมติคณะรัฐมนตรี และที่ดินนั้นไม่เป็นที่ดินซึ่งต้องห้ามมิให้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ตามข้อ  และไม่มีผู้คัดค้านภายในกำหนดเวลาที่ประกาศตาม (ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้ได้
มาตรา ๖๐ ในการออกโฉนดที่ดินตามความในมาตรา ๕๘ และมาตรา ๕๙ ถ้ามี ผู้โต้แย้งสิทธิกัน ให้พนักงานเจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานที่ดิน แล้วแต่กรณี มีอำนาจทำการสอบสวน เปรียบเทียบ ถ้าตกลงกันก็ให้ดำเนินการตามความตกลงนั้น แต่ถ้าไม่ตกลงกัน ให้พนักงาน เจ้าหน้าที่หรือเจ้าพนักงานที่ดินเสนอเรื่องพร้อมทั้งความเห็นไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อ พิจารณาสั่งการ
เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งประการใดแล้ว ให้แจ้งแก่คู่กรณีทราบ และให้ฝ่ายที่ ไม่พอใจไปดำเนินการฟ้องหรือร้องต่อศาลภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง
ในกรณีที่ได้ฟ้องหรือร้องต่อศาลแล้ว ให้รอเรื่องไว้จนกว่าศาลจะพิพากษาหรือ มีคำสั่งประการใด จึงให้ดำเนินการไปตามกรณี ถ้าไม่ฟ้องหรือร้องภายในกำหนด ก็ให้ดำเนินการ ไปตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่ง

ขั้นตอนการขอออกโฉนด

1. ชี้ระวางแผนที่
2. รับคำขอ สอบสวน ชำระเงินค่าธรรมเนียม
3. ฝ่ายรังวัดดำเนินการ นัดทำการรังวัด กำหนดตัวช่างรังวัด
4. ค้นหารายชื่อเจ้าของที่ดินข้างเคียง และพิมพ์หมายข้างเคียง
5. รับหมายแจ้งเจ้าของที่ดินข้างเคียง วางเงินมัดจำรังวัดรับหลักเขตที่ดิน
6. ช่างรังวัดออกไปทำการรังวัด พิสูจน์สอบสวนการทำประโยชน์ที่ดิน
7. คำนวณเนื้อที่ และเขียนรูปแผนที่โฉนดที่ดิน
8. เจ้าพนักงานที่ดินประกาศการแจกโฉนดที่ดิน 30 วัน
9. ประกาศแจกที่ดินให้ปิดในที่เปิดเผย สำนักงานที่ดินท้องที่ สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอ หรือที่ว่าการกิ่งอำเภอท้องที่ ที่ทำการแขวงหรือที่ทำการกำนันท้องที่และในบริเวณที่ดินนั้นแห่งละหนึ่งฉบับ ในเขตเทศบาลให้ปิดไว้ สำนักงานเทศบาลอีกหนึ่งฉบับ
10. เสนอเรื่องขออนุมัติผู้ว่าราชการจังหวัด กรณีขอออกโฉนดที่ดินโดยมิได้แจ้งการครอบครอง หรือกรณีเนื้อที่เกิน 50 ไร่ ตามมาตรา 59 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
11. ส่งเรื่องให้คณะกรรมการตามกฎกระทรวงฉบับที่ 43 ตรวจสอบกรณีที่ดินอยู่ในเขตป่าไม้
12. ประสานงานกับ ...หรือผู้ปกครองนิคมฯ กรณีที่ดินอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินฯ นิคมสร้างตนเอง หรือสหกรณ์นิคม
13. เสนอเจ้าพนักงานที่ดินลงนามออกโฉนดที่ดินให้แก่ผู้ขอและแจ้งเจ้าของที่ดินมารับโฉนดที่ดิน
14. แจกโฉนดที่ดินให้ผู้ขอ

ระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ. ๒๕๓๒)

ว่าด้วยเงื่อนไขการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์


------------------
     อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๒๐  แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย
พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ ) .. ๒๕๒๖  มาตรา ๕๘ ทวิ  
วรรคสี่  แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน  ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวล
กฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ ) .. ๒๕๒๘  และมาตรา ๕๙ ทวิ วรรคหนึ่ง  และมาตรา ๕๙ ตรี  
แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ  ฉบับที่ ๙๖  ลงวันที่  
กุมภาพันธ์ .. ๒๕๑๕  คณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติวางระเบียบไว้ดังต่อไปนี้

ข้อ   ระเบียบนี้เรียกว่า "ระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ 
๑๒ (.. ๒๕๓๒) ว่าด้วยเงื่อนไขการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์"

ข้อ   ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ   ให้ยกเลิก
(ระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ (.. ๒๕๑๕)  
ว่าด้วยหลักเกณฑ์  วิธีการ  และเงื่อนไขการออกโฉนดที่ดินและออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์
(ระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ (.. ๒๕๑๕)  
ว่าด้วยหลักเกณฑ์  วิธีการ  และเงื่อนไขการออกโฉนดที่ดินและออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์
(ระเบียบของคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ฉบับที่ (.. ๒๕๒๔)  
ว่าด้วยหลักเกณฑ์  วิธีการ  และเงื่อนไขการออกโฉนดที่ดินและออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์

ข้อ   การออกโฉนดที่ดินให้กระทำได้ในบริเวณที่ดินที่ได้สร้างระวางแผนที่เพื่อ
การออกโฉนดที่ดินไว้แล้ว  ในบริเวณที่ดินนอกจากนี้ให้ออกเป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์  
เว้นแต่อธิบดีกรมที่ดินเห็นเป็นการสมควร  ให้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในบริเวณที่ดิน
ที่ได้สร้างระวางแผนที่ไว้แล้วไปพลางก่อนได้

                  หมวด
            การอนุมัติให้ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์
                ตามมาตรา ๕๘ ทวิ วรรคสี่ และมาตรา ๕๙ ทวิ วรรคหนึ่ง
                แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน

ข้อ   ผู้ว่าราชการจังหวัดจะอนุมัติให้ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำ
ประโยชน์รายใดเกินห้าสิบไร่ได้ต่อเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย
ได้ตรวจสอบการทำประโยชน์แล้วปรากฏว่า
        (ผู้ครอบครองได้ทำประโยชน์หรืออำนวยการทำประโยชน์ในที่ดินนั้น
ด้วยตนเอง และ
        (สภาพการทำประโยชน์ในที่ดินนั้นเป็นหลักฐานมั่นคงและมีผลผลิต
อันเป็นประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ

ข้อ   ในกรณีที่ปรากฏว่าเนื้อที่ที่ทำประโยชน์ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามข้อ  
เกินห้าสิบไร่  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เท่าจำนวน
เนื้อที่ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งอนุมัติ
ในกรณีที่ปรากฏว่าเนื้อที่ที่ทำประโยชน์ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามข้อ   ไม่เกิน
ห้าสิบไร่  ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งไม่อนุมัติ  ในกรณีเช่นนี้ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกโฉนด
ที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้เท่าจำนวนเนื้อที่ที่ได้ทำประโยชน์แล้วตามกฎกระทรวง 
ฉบับที่ (.. ๒๔๙๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน .
๒๔๙๗  แต่ต้องไม่เกินห้าสิบไร่

ข้อ   พนักงานเจ้าหน้าที่จะออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์
ให้แก่บุคคลตามมาตรา ๕๙ ทวิ วรรคหนึ่ง  เป็นการเฉพาะรายได้  ถ้ามีความจำเป็นดังต่อไปนี้
(ที่ดินนั้นถูกเวนคืนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
(ผู้ครอบครองและทำประโยชน์ในที่ดินจะโอนที่ดินนั้นให้แก่ทบวงการเมือง  
องค์การของรัฐบาลตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งองค์การของรัฐบาล หรือรัฐวิสาหกิจที่จัดตั้งขึ้น
โดยพระราชบัญญัติ
(มีความจำเป็นอย่างอื่นโดยได้รับอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด

                  หมวด
                    การออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์
              ตามมาตรา ๕๙ ตรี  แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน

ข้อ   ในการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ถ้าปรากฏว่า
ที่ดินมีอาณาเขต ระยะของแนวเขต  และที่ดินข้างเคียงทุกด้านถูกต้องตรงกับหลักฐานการแจ้งการ
ครอบครองตามมาตรา  แห่งพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน .. ๒๔๙๗  เชื่อได้
ว่าเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน  แต่เนื้อที่ที่คำนวณได้แตกต่างไปจากเนื้อที่ตามหลักฐานการแจ้งการ
ครอบครองดังกล่าว  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เท่า
จำนวนเนื้อที่ที่ได้ทำประโยชน์แล้ว  แต่ไม่เกินเนื้อที่ที่คำนวณได้
ในกรณีที่ระยะของแนวเขตที่ดินผิดพลาดคลาดเคลื่อนให้พนักงานเจ้าหน้าที่
ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เท่าจำนวนเนื้อที่ที่ได้ทำประโยชน์แล้วเมื่อผู้มีสิทธิ
ในที่ดินข้างเคียงได้ลงชื่อรับรองแนวเขตไว้เป็นการถูกต้องครบถ้วนทุกด้าน

ข้อ   การรับรองแนวเขตของผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงตามข้อ วรรคสอง 
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งเป็นหนังสือซึ่งมีข้อความด้วยว่า ถ้าผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงไม่มาหรือ
มาแต่ไม่ยอมลงชื่อรับรองแนวเขตโดยไม่คัดค้านการรังวัด  เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันทำ
การรังวัด  พนักงานเจ้าหน้าที่จะได้ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยไม่ต้อง
มีการรับรองแนวเขต  ส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงตามที่อยู่ที่
เคยติดต่อ  หรือตามที่อยู่ที่ผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงนั้นได้แจ้งเป็นหนังสือไว้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่  
เพื่อให้มารับรองแนวเขตหรือคัดค้านการรังวัดและให้อยู่ในบังคับแห่งเงื่อนไข  ดังต่อไปนี้
(ในกรณีที่ผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงได้รับหนังสือจากพนักงานเจ้าหน้าที่
ให้มาระวังแนวเขตแล้ว  แต่ไม่มาหรือมาแต่ไม่ยอมลงชื่อรับรองแนวเขตโดยไม่คัดค้านการรังวัด  
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์เท่าจำนวนเนื้อที่ที่ได้ทำ
ประโยชน์แล้ว  โดยไม่ต้องมีการรับรองแนวเขต  เมื่อพ้นกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันทำการ
รังวัด
(ในกรณีที่ไม่อาจติดต่อผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงให้มาระวังแนวเขต
ได้  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ปิดประกาศแจ้งให้ผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงนั้นมาลงชื่อรับรองแนวเขต
หรือคัดค้านการรังวัดไว้ในที่เปิดเผย สำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสำนักงานที่ดินสาขา  สำนักงาน
เขตหรือที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอ  ที่ทำการกำนัน  ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน  และบริเวณที่ดินของผู้
มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงแห่งละหนึ่งฉบับ ในกรณีที่ดินอยู่ในเขตเทศบาลให้ปิด  สำนักงานเทศ
บาลอีกหนึ่งฉบับด้วย ถ้าผู้มีสิทธิในที่ดินข้างเคียงไม่มาติดต่อหรือคัดค้านประการใดภายในสามสิบ
วันนับแต่วันปิดประกาศ  ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์
เท่าจำนวนเนื้อที่ที่ได้ทำประโยชน์แล้ว  โดยไม่ต้องมีการรับรองแนวเขต

ข้อ ๑๐  ในกรณีที่ที่ดินนั้นมีด้านหนึ่งด้านใดหรือหลายด้านจดที่ป่าหรือที่รกร้าง
ว่างเปล่าและระยะที่วัดได้เกินกว่าระยะที่ปรากฏในหลักฐานการแจ้งการครอบครองให้ถือระยะที่
ปรากฏในหลักฐานการแจ้งการครอบครองเป็นหลักในการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการ
ทำประโยชน์

ให้ไว้ วันที่ ตุลาคม .. ๒๕๓๒
  พลตำรวจเอก ประมาณ อดิเรกสาร 
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
        ประธานคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ

[รก.๒๕๓๒/๑๗๔/๗พ/๑๒ ตุลาคม ๒๕๓๒]

พรพิมล/แก้ไข
.  ๒๕๔๕